Site icon <Jaturapad>

จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

จริยธรรม หมายถึง

หลักประพฤติปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสมกับการทำหน้าที่ของบุคคล เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติอย่างสมบูรณ์และสอดคล้องกับมาตรฐานที่ดีงามอันเป็นที่ยอมรับของสังคม

จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง

หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ หรือควบคุมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ

จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ แบ่งเป็น 4 ประเด็น ดังนี้

จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ แบ่งเป็น 4 ประเด็น

  1. ความเป็นส่วนตัว
    • ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ โดยทั่วไปหมายถึง สิทธิที่จะอยู่ตามลำพัง และเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเอง
      ในการเปิดเผยให้กับผู้อื่น สิทธินี้ใช้ได้ครอบคลุมทั้งปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคล และองค์กร และหน่วยงานต่างๆ
  2. ความถูกต้อง
    • ข้อมูลควรได้รับการตรวจสอบความถูกต้องก่อนที่จะบันทึกข้อมูลเก็บไว้รวมถึงการปรับปรุงข้อมูลให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ นอกจากนี้ ควรให้สิทธิแก่บุคคลในการเข้าไปตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลตนเองได้
  3. ความเป็นเจ้าของ
    • เป็นกรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน ซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินทั่วไปที่จับต้องได้ เช่น คอมพิวเตอร์ รถยนต์ หรืออาจเป็นทรัพย์สินทางปัญญา ที่จับต้องไม่ได้ เช่น บทเพลง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่สามารถถ่ายทอดและบันทึกลงในสื่อต่างๆ ได้ เช่น สิ่งพิมพ์ เทป ซีดีรอม เป็นต้น
  4. การเข้าถึงข้อมูล
    • การเข้าใช้งานโปรแกรม หรือระบบคอมพิวเตอร์ มักจะมีการกำหนดสิทธิตามระดับของผู้ใช้งาน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันการเข้าไปดำเนินการต่างๆ กับข้อมูลของผู้ใช้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และเป็นการรักษาความลับของข้อมูล
จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (บัญญัติ 10 ประการ)

จรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยึดถือไว้เสมือนเป็นแม่บทแห่งการปฏิบัติเพื่อระลึกและเตือนความจำเสมอ

1. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อก่ออาชญากรรมหรือละเมิดสิทธิผู้อื่น
2. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์รบกวนการผู้อื่น
3. ไม่ทำการสอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูไฟล์ของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต
4. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานเท็จ
6. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการคัดลอกโปรแกรมที่มีลิขสิทธิ์
7. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อนำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
9. คำนึงถึงผลของการกระทำที่จะเกิดขึ้นกับสังคม
10. ใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกา และมารยาท

ที่มา: ณัฏฐ์ โอธนาทรัพย์ และคณะ. (2561). หนังสือเรียน เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. อัษรเจริญทัศน์ อจท. กรุงเทพมหานคร 

Exit mobile version