Site icon <Jaturapad>

ก.ค.ศ.เห็นชอบหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกฯ ผู้อำนวยการสถานศึกษา สพฐ. และ สอศ.

นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 12/2561 เมื่อวันที่ 2ตุลาคม 2561 ว่าที่ประชุมได้มีการพิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่สำคัญ ดังนี้

1) ผู้มีสิทธิสมัครเข้ารับการคัดเลือก ต้องเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัด สพฐ. มีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา 30 และดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งตามมาตรฐานตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา ที่ ก.ค.ศ. กำหนด

2) หลักสูตรการคัดเลือก ประกอบด้วย 3 ภาค คือ

     ภาค ก ความรู้และความสามารถในการบริหารงานในหน้าที่ (คะแนนเต็ม 100) โดยการทดสอบความรู้ ประกอบด้วยการบริหารงานวิชาการ การบริหารงานบุคคล การบริหารงานการเงินและสินทรัพย์ การบริหารงานทั่วไป และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

     ภาค ข ความเหมาะสมกับการปฏิบัติงานในหน้าที่ (คะแนนเต็ม 150) โดยการประเมินประวัติและประสบการณ์ (50 คะแนน) ประเมินผลงาน (50 คะแนน) และประเมินศักยภาพ (50 คะแนน)

     ภาค ค ความเหมาะสมกับตำแหน่ง (คะแนนเต็ม 50) โดยการประเมินวิสัยทัศน์และการสัมภาษณ์

3) ผู้ที่ได้คะแนนภาค ก ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 จึงมีสิทธิสอบภาค ข และภาค ค สำหรับผู้ได้รับการคัดเลือกต้องได้คะแนนภาค ข และภาค ค แต่ละภาคไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 และคะแนนรวมทั้ง 3 ภาค ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60

4) คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) เป็นผู้ออกข้อสอบ และกำหนดตัวชี้วัด องค์ประกอบ และคะแนนการประเมิน

5) สพฐ.จะกำหนดวันคัดเลือกเฉพาะการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์นี้ครั้งแรก ส่วนครั้งต่อ ๆ ไปให้ กศจ. กำหนดเอง ทั้งนี้ ให้ผู้สมัครเลือกสมัครในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) หรือสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (สศศ.) ได้เพียงแห่งเดียว หากสมัครหลายแห่งจะถูกตัดสิทธิ์

6) การขึ้นบัญชี ให้ กศจ. เป็นผู้พิจารณาการขึ้นบัญชี ภายในกรอบระยะเวลา 2 ปี

7) กำหนดระยะเวลาการประเมินสัมฤทธิผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ 1 ปี ประเมิน 2 ครั้ง หากผลการประเมินทั้ง 2 ครั้ง ไม่ผ่านเกณฑ์ต้องกลับไปดำรงตำแหน่งเดิมก่อนเข้าสู่ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา ตามมาตรา 71 และ กฎ ก.ค.ศ.

สำหรับตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะไม่มีการประเมินศักยภาพ ซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งของภาค ข


1) ผู้มีสิทธิสมัครเข้ารับการคัดเลือก ต้องเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัด สอศ. มีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา 30 และมีคุณสมบัติเป็นไปตามมาตรฐานตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา ที่ ก.ค.ศ. กำหนด

2) หลักสูตรการคัดเลือก ประกอบด้วย 3 ภาค คือ

     ภาค ก ความรู้และความสามารถในการบริหารงานในหน้าที่ (คะแนนเต็ม 100) โดยการประเมินความรู้และการนำไปใช้งานทั้ง 4 ฝ่ายเป็นสำคัญ ประกอบด้วยฝ่ายบริหารทรัพยากร ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ ฝ่ายการพัฒนากิจการนักเรียน นักศึกษา และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

     ภาค ข ความเหมาะสมกับการปฏิบัติงานในหน้าที่ (คะแนนเต็ม 150) โดยการประเมินประวัติและประสบการณ์ (50 คะแนน) ประเมินผลงาน (50 คะแนน) และประเมินศักยภาพ (50 คะแนน)

     ภาค ค ความเหมาะสมกับตำแหน่ง (คะแนนเต็ม 100) โดยการประเมินวิสัยทัศน์และการสัมภาษณ์

3) ผู้ที่ได้คะแนนภาค ก ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 จึงมีสิทธิสอบภาค ข และภาค ค สำหรับผู้ได้รับการคัดเลือกต้องได้คะแนนภาค ข และภาค ค แต่ละภาคไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 และคะแนนรวมภาค ก ภาค ข และภาค ค ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60

4) อ.ก.ค.ศ. สอศ. เป็นผู้ออกข้อสอบ และกำหนดตัวชี้วัด องค์ประกอบ และคะแนนการประเมิน

5) อ.ก.ค.ศ. สอศ. เป็นผู้กำหนดวันและเวลาในการคัดเลือกแต่ละครั้ง

6) การขึ้นบัญชี ให้ อ.ก.ค.ศ. สอศ. เป็นผู้พิจารณาการขึ้นบัญชี ภายในกรอบระยะเวลา 2 ปี

7) กำหนดระยะเวลาการประเมินสัมฤทธิผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ 1 ปี ประเมิน 2 ครั้ง หากผลการประเมินทั้ง 2 ครั้ง ไม่ผ่านเกณฑ์ต้องกลับไปดำรงตำแหน่งเดิมก่อนเข้าสู่ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา ตามมาตรา 71 และ กฎ ก.ค.ศ.


ประกอบด้วย อาจารย์ จำนวน 47 อัตรา ครูผู้ช่วย จำนวน 2 อัตรา และบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2) จำนวน 5 อัตรา


โดยให้ สพฐ. นำอัตราว่างที่ได้รับจัดสรรคืนจากผลการเกษียณอายุราชการเมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ตามกรอบอัตรากำลังที่ได้รับอนุมัติไปใช้ในการจัดสรรให้โรงเรียนหัวหิน เพื่อสรรหาข้าราชการครูไปปฏิบัติราชการเป็นกรณีพิเศษ ณ โรงเรียนวังไกลกังวล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์


อกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบแต่งตั้งนายสมชาย แคฝอย เป็นอนุกรรมการใน อ.ก.ค.ศ. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา แทนตำแหน่งที่ว่าง

ที่มา: 

Exit mobile version