เรื่อง Speech Recognition ของ Google อาจจะค่อนข้างแม่นยำ จากเสียงหรือคำพูดของคนปกติทั่วไป ทว่าการตรวจจับคำพูดของ AI ก็ยังคงมีปัญหาหากเป็นคำสั่งที่มาจากผู้ที่มีปัญหาด้านการสื่อสาร จากปัญหาด้านระบบประสาทเช่น ผู้ป่วยเส้นเลือดอุดตันในสมองหรือผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง (ALS) เนื่องจากไม่สามารถใช้โมเดลเดียวกับคนทั่วไปได้
Google จึงตั้งโปรเจ็ค Euphoria ขึ้นมาวิจัยและพัฒนาอัลกอริทึม AI เพื่อการนี้ โดยร่วมมือกับองค์กรผู้ป่วย ALS เพื่อเก็บข้อมูลเสียงและทำงานร่วมกับผู้ป่วย ALS ก่อน โดยรูปแบบการเทรน ทีมงานจะเปลี่ยนเสียงพูดให้เป็นคลื่นเสียง (spectrogram) เพื่อให้ AI ตรวจจับแพทเทิร์นการพูดและเสียงของผู้ป่วย ซึ่งแตกต่างจากคนธรรมดา
นอกจาก Speech Recognition แล้ว ทีมงานยังเทรนอัลกอริทึมที่ปรับแต่งสำหรับผู้ป่วยแต่ละคน ให้ตีความเสียงและท่าทาง เพื่อสั่งงานหรือสั่งคำสั่งบางอย่างโดยเฉพาะ เช่น เสียงฮึม เพื่อสั่งเปิดไฟ เป็นต้น
ที่มา:
- Blognone.com. (2562). Google โชว์งานวิจัยใช้ AI ช่วยผู้พิการที่มีปัญหาด้านการสื่อสาร. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2562. จาก https://www.blognone.com/node/109672.
- ภาพประกอบ: https://www.google.com/images/branding/googlelogo/1x/googlelogo_color_272x92dp.png