สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนทำแฟ้มสะสมผลงาน
- รวบรวมและคัดรูปถ่ายที่เราทำกิจกรรมต่างๆ ภายในโรงเรียน ภายนอกโรงเรียน และสาธารณประโยชน์ รวมทั้งกิจกรรมที่มีเกี่ยวข้องกับสาขาวิชา
- รวบรวมเกียรติบัตรที่ได้รับตลอดชั้นมัธยมศึกษามา
- รวบรวมชิ้นงาน ผลงานที่เคยทำทั้งงานอดิเรก หรืองานศิลปะ หรืองานที่เราทำและได้ออกเผยแพร่ หรือสามารถสร้างรายได้ให้เราได้ (หากเป็นไฟล์วีดีโออย่าลืมอัปโหลดขึ้น Youtube และ Capture ฉากที่หน้าสนใจไว้)
- รูปภาพตัวเองทั้งชุดนักเรียน หรือชุดอื่นๆ ที่อยู่ในท่าทางและสถานที่ที่สุภาพ (ขนาดไฟล์รูปใหญ่ ถ่ายจากกล้อง DSLR ยิ่งดี หากเป็นไฟล์จากกล้องมือถือต้องเช็คว่าขยายเต็มแผ่น A4 แล้วภาพไม่แตกด้วยนะ)
การเตรียมสิ่งๆ ต่าง ข้างบนนี้อาจใช้เวลาค่อนข้างนาน ต่างไปในแต่ละคน เมื่อเตรียมเสร็จแล้ว ขึ้นตอนต่อไปเราก็จะเข้าสู่การสร้างแฟ้มสะสมผลงานกัน!
หน้าปกแฟ้มสะสมผลงาน
วิธีการทำหน้าปกยอดฮิต 3 แบบให้ได้เลือกทำกันแบบง่ายๆ
แบบที่ 1 : รูปเต็มปก
ขั้นแรกเลย คือเปิด Microsoft Word (โดยรุ่นที่ พี่ มศว ใช้นี้คือ Microsoft Word 2016 ในเมนูภาษาอังกฤษ บางเมนูอาจใหม่กว่าหรือหากใครใช้ภาษาไทยก็เปิดดิกชันนารี่แปลเองนะ ><‘) จะพบกับกระดาษแบบว่างเปล่าขึ้นมา
ขั้นตอนที่ 2 ตั้งค่าระยะห่างระหว่างบรรทัด คลิกที่ลูกศรชี้ลงตรงส่วน Paragraph หรือ กด Ctrl + A ที่แป้นพิมพ์ คลิกขวาส่วนที่คลุมดำไว้ที่กระดาษ เลือก Paragraph แล้วตั้งค่า Spacing ให้ Before : 0 pt / After : 0 pt / Line spacing : Single เพื่อให้ระยะห่างระหว่างบรรทัดไม่มีมากเกินไป
ขั้นตอนที่ 3 : แทรกรูปตัวเองเข้าไป.. เอารูปที่คิดว่าดูดีที่สุดของตัวเลยเลยนะ และต้องขยายภาพแล้วไม่แตกด้วย (สำคัญสุด)
ขั้นตอนที่ 4 : แล้วทำการตั้งค่า คลิกที่รูปภาพ เลือกแท็บ Format เลือกเมนู Wrap Text และเลือก Behind Text เพื่อให้รูปภาพอยู่ด้านหลังข้อความ
ขั้นตอนที่ 5 : คลิกเลือกที่เมนู Crop และทำการขยายกรอกเส้น Crop รูปสีดำให้เต็มพื้นที่กระดาษ
ขั้นตอนที่ 6 : ขยายรูปให้เต็มหน้ากระดาษและจัดวางให้รูปภาพอยู่ส่วนที่ต้องการ
ขั้นตอนที่ 7 : เราสามารถปรับแต่งแสงรูปภาพให้สว่างได้ที่เมนู Corrections ได้ผ่าน Microsoft Word เพียงคลิกเดียว
ขั้นตอนที่ 8 : หลังจากได้รูปเต็มหน้ากระดาษแล้ว เราก็สามารถแทรกตัวอักษรไปได้เลย โดยเริ่มคำว่า Portfolio ก่อน ใส่สีขาว ปรับให้เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด เลือกแบบอักษร (Font) และปรับขนาดตามที่ต้องการได้เลย
ขั้นตอนที่ 9 : กดเข้าไปที่แท็บ Insert → Text Box → Draw Text Box และวาดกล่องข้อความตรงจุดที่เขียนว่า Portfolio แล้วพิมพ์ Portfolio ด้วยรูปแบบเดียวกัน เปลี่ยนสีตัวอักษรเป็นสีที่ชอบ ทำการตั้งค่า Shape Fill และ Shape Outline ให้ใสไม่มีสี หรือ None นั่นเอง แล้วขยับให้ตัวอักษรซ้อนกันแบบนี้ ก็จะเพิ่มมิติของตัวอักษรแล้ว
ขั้นตอนที่ 10 : กดเข้าไปที่แท็บ Insert → Shape → กดเลือกสี่เหลี่ยม และวาดกล่องสี่เหลี่ยมบริเวณด้านล่างคำ Portfolio แล้วคลิกขวาที่สี่เหลี่ยม เลือก Format Shape จะปรากฎ Popup ทางด้านขวาขึ้นมา ให้กดที่ปุ่มถังสี (เมนู Fill & Line) และเปิดเมนูย่อย Fill เลือกสีขาว และตั้งค่าความโปร่งใส (Transparency) ประมาณ 30%
ขั้นตอนที่ 11 : คลิกขวาที่กล่องสี่เหลี่ยม เลือก Edit Text แล้วใส่รายละเอียดเกี่ยวกับเราเข้าไป โดยรูปแบบทั่วไปคือ ชื่อ – สกุล / ชั้น / แผนการเรียน / ชื่อโรงเรียน / สาขาวิชาและวิชาเอกที่จะเข้า / ชื่อคณะ / ชื่อมหาวิทยาลัย / เลขที่นั่งสอบ
โดยการเลือกว่าน้องจะพิมพ์ภาษาใดก็ขึ้นอยู่กับว่าสาขาที่น้องจะเข้านั้นเป็นหลักสูตรใด ถ้าเป็นหลักสูตรปกติ ก็สามารถใช้ภาษาไทยได้ ถ้าเป็นหลักสูตร 2 ภาษา ก็สามารถใช้ภาษาอังกฤษผสมภาษาไทยได้ หรือภาษาอังกฤษล้วน แต่ถ้าเป็นหลักสูตรนานาชาติ ก็ควรทำรูปเล่มเป็นภาษาอังกฤษล้วนนะครับ
แล้วทำการเลือก Font ตกแต่งสีสันตามความใจชอบ ก็จะออกมาเป็นแบบนี้
เสร็จแล้วว : ก็จะได้เป็นแบบรูปด้านล่างนี้
จากตัวอย่าง จะเห็นได้ว่าภาพเกิดอาการเบลอแตกเล็กๆ เนื่องจากภาพมีขนาดเล็กเกินไป อย่าลืมหาภาพที่ดีๆ และขนาดใหญ่ไม่แตกมาใส่ในหน้าปกนะ
แบบที่ 2 : รูปครึ่งปก
ขั้นแรกเลย แทรกรูปเข้ามาได้เลย แล้วทำการตั้งค่า คลิกที่รูปภาพ เลือกแท็บ Format เลือกเมนู Wrap Text และเลือก Behind Text เพื่อให้รูปภาพอยู่ด้านหลังข้อความ
ขั้นตอนที่ 2 : คลิกเลือกที่เมนู Crop และทำการขยายกรอกเส้น Crop รูปสีดำให้อยู่ประมาณ 30%-50% ของกระดาษ ขยายรูป ขยับจัดวางรูปให้มีสัดส่วนที่สวยงาม
ขั้นตอนที่ 3 : กดเข้าไปที่แท็บ Insert → Text Box → Draw Text Box และวาดกล่องข้อความบริเวณส่วนที่ว่างด้านบน พิมพ์ว่า Portfolio เลือก Font และสีตามที่ต้องการ
แล้วทำการขนาดตัวอักษรให้สวยงาน ลดขนาด Folio ให้เล็กลง ทำการตั้งค่า Shape Fill และ Shape Outline ให้ใสไม่มีสี หรือ None
ขั้นตอนที่ 4 : สร้างกล่องข้อความอีกกล่อง แล้วใส่รายละเอียดเกี่ยวกับเราเข้าไป โดยรูปแบบข้อความก็เหมือนรูปแบบที่ 1 ทำการเลือก Font เลือกสี ตัดคำให้เรียบร้อยไม่มีฉีกคำ ตกแต่งสีสันตามความใจชอบได้เลยย
เสร็จแล้วว : จะเป็นแบบนี้ 😉
แบบที่ 3 : จัดหน้าแบบ Hipster เบาๆ
เป็นการจัดหน้ารูปแบบที่เห็นบ่อยที่สุด.. แรงบันดาลใจมาจากคินโฟลก์ในรูปแบบที่แตกต่างไปของแต่ละคน เรามาทำกันบ้างดีกว่าา
ขั้นแรกเลย แทรกรูปเข้ามาเหมือน 2 แบบที่แล้ว แต่ในแบบนี้ควรเป็นรูปแนวตั้งจะเหมาะสมกว่า
ทั้งนี้รูปภาพสามารถใช้ได้ทั้งชุดนักเรียน หรือชุดทั่วไปได้ แต่ต้องสุภาพ กางเกงขายาว หรือกระโปรงที่คลุมเขาลงไป อยู่ในท่าทางที่สุภาพ (นั่นคือไม่โลดโผนหรือมีท่าทางยั่วยวนเกินไป) และสถานที่ที่สวยงามและเหมาะสมนั่นเอง
ขั้นตอนที่ 2 : เลือกที่แท็บ Insert → Shapes → Draw Box และวาดกล่องคลุมรอบรูปภาพที่เราแทรกไว้ หลังจากนั้นเลือก Shape Fill ให้เป็น None (ไม่มีสี) และเลือก Shape Outline เป็นสีที่ต้องการ เลือก Weight → More Lines…
จะปรากฎกล่อง Format Shape กดที่กล่องถังสี (เมนู Fill & Line) เลือกเมนูย่อย Line แล้วตั้งค่า Width ตามความหนาที่ต้องการ โดยที่พี่ใช้คือ 10 pt
ขั้นตอนที่ 3 : กดเข้าไปที่แท็บ Insert → Text Box → Draw Text Box และวาดกล่องข้อความบริเวณด้านบน พิมพ์ว่า Portfolio เลือก Font และสีตามที่ต้องการ ถ้าให้ดีก็ใช้สีเดียวกันกับสีเส้นได้เลย และขยับให้ส่วนล่างกลมกลืนหรือหายไปเส้น แล้วทำการตั้งค่า Shape Fill และ Shape Outline ให้ใสไม่มีสี หรือ None
ขั้นตอนที่ 4 : สร้างกล่องข้อความอีกกล่อง ใส่รายละเอียดเกี่ยวกับเราเข้าไป โดยรูปแบบข้อความก็เหมือนรูปแบบที่ 1 ทำการเลือก Font เลือกสี ตัดคำให้เรียบร้อยไม่มีฉีกคำ ตกแต่งสีสันตามความใจชอบได้เลยย
เสร็จแล้วว : ก็จะได้เป็นแบบด้านล่างนี้เลย
บางคนบอกว่าอยากใส่พื้นหลังได้ไหม.. ได้เลย ไม่มีห้าม ขั้นแรกเราก็สร้างกล่องสี่เหลี่ยมขึ้นมา ขนาด A4 แล้วคลิกขวาที่กล่องสี่เหลี่ยม เลือก Send to Back → Send Behind Text แล้วทำการเลือกสีที่ต้องการได้เลย
ถ้าอยากให้ไล่ระดับสี สามารถทำได้โดยการกดคลิกขวา เลือก Format Shape..
จะปรากฎกล่อง Format Shape กดที่กล่องถังสี (เมนู Fill & Line) เลือกเมนูย่อย Fill แล้วเลือก Gradient fill เลือกรูปแบบ Present gradients ที่ชอบ
โดยเราสามารถเปลี่ยนสีได้ตรง Gradient stops กดตรงแถบสี แล้วกดเปลี่ยนสีที่ Color และเลือกสีที่ต้องการ
เมื่อได้สีที่ต้องการแล้ว อย่าลืมเปลี่ยนสีเปลี่ยนเส้นตามให้โดดเด่นและอ่านออกด้วยนะ
หรือจะแทรกเป็นรูปภาพก็ได้ วิธีการแทรกก็เหมือนเดิม ตั้งค่าเหมือนเดิมให้ Wrap Text เป็น Behind Text และขยายให้เต็มหน้ากระดาษแบบนี้
โดยรูปภาพ แนะนำว่าเป็นรูปภาพที่ไม่ควรรกเกินไป เรียบๆ หรือเป็นแบบ Polygon นะ.. สำหรับใครที่อยากแต่งหรือเสริม Effect สามารถกดเลือกที่ Format → Artistic Effects และเลือกได้เลย
ก็จะออกมาได้เป็นรูปแบบนี้นั่นเองง..
หน้าประวัติส่วนตัว
สำหรับประวัติส่วนตัว ก็เป็นอีกหน้าหนึ่งที่จะบอกข้อมูลของเราเพิ่มเติมจากในใบข้อมูลผู้สมัครที่เราพิมพ์ออกจากระบบ ดังนั้นคิดไว้ก่อนคร่าวๆ เลยว่าเราจะมีข้อมูลอะไรบ้าง
ขั้นตอนที่ 1 : สร้างกล่องสี่เหลี่ยม (เลือกที่แท็บ Insert → Shapes → Draw Box) บริเวณด้านบนของหน้า ขนาดใหญ่พอสมควรเพื่อให้เป็นส่วนของหัวข้อ เลือกสีตามใจชอบ ทั้งนี้แนะนำว่าควรเป็นโทนสีเดียวกันกับหน้าปก และทั้งเล่มควรเป็นโทนสีเดียวกันนะครับ หรือจะต่างกันก็ขอให้เข้าคู่สีกันด้วยนะ
ขั้นตอนที่ 2 : กดเข้าไปที่แท็บ Insert → Text Box → Draw Text Box วาดกล่องข้อความที่ส่วนบนตรงที่เราสร้างกล่องข้อความเมื่อกี้ แล้วพิมพ์ Profile เข้าไป (หรือว่า “ประวัติส่วนตัว” ก่อนได้ไม่ว่ากัน) แล้วทำการเลือก Font และสี เลือกกล่องข้อความให้ Shape Fill และ Shape Outline ให้เป็น None (ไม่มีสี)
ขั้นตอนที่ 3 : แทรกรูปตัวเอง เลือกรูปที่ไม่ขยายแล้วไม่แตกอีกเช่นกัน หลังจากนั้นเลือก Wrap Text เป็น Behind Text
ขั้นตอนที่ 4 : คลิกเลือกที่เมนู Crop และทำการขยายกรอกเส้น Crop รูปสีดำให้อยู่ประมาณ 20%-30% ของกระดาษ (เมื่อรวมกับสี่เหลี่ยมที่สร้างด้านบนแล้วไม่ครวรเกิน 50% ของกระดาษ) ขยายรูป ขยับจัดวางรูปให้มีสัดส่วนที่สวยงาม
ขั้นตอนที่ 5 : Enter ลงมาเรื่อยๆ หลังจากนั้นก็พิมพ์ข้อมูลและประวัติส่วนตัวของน้องลงไปเลย ที่เห็นนี้เป็นตัวอย่างนะครับ น้องสามารถเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสมเลยจ้า
โดยพื้นฐานก็ควรมี ชื่อ – สกุล / วันเดือนปีเกิด / เลขบัตรประจำตัวประชาชน / สัญชาติ / เชื้อชาติ / ศาสนา / ที่อยู่ / ข้อมูลบิดา-มารดา / วิชาที่ชอบ / งานอดิเรก / ความสามารถพิเศษ / คติประจำใจ
ขั้นตอนที่ 6 : หลังจากนั้นเราก็ใส่ช่องทางการติดต่อของเราเข้าไป ทั้งหมายเลขโทรศัพท์ / เว็บไซต์ / บล็อก / Facebook / Twitter / Instagram เข้าไป
ทั้งนี้หากหน้ามีพื้นที่ไม่พอ สามารถเลื่อนแถบ Ruler ด้านข้างซ้ายลงได้เลยย
ขั้นตอนที่ 7 : ระหว่างประวัติส่วนตัวกับข้อมูลการติดต่อ เราสามารถเว้นบรรทัดไว้หนึ่งบรรทัด แล้วแทรกเส้นประเข้าไปได้นะ! เป็นการตกแต่งเล็กๆ น้อยๆ
โดยน้องๆ สามารถเลือก สี / Dashes / Weight ได้จากเมนู Shape Outline ได้เลย
ขั้นตอนที่ 8 : ใส่รูปภาพ icon หน้าหัวข้อแต่ละหัวข้อนิดหน่อยก็ดูดีไมน้อยนะ
ขั้นตอนที่ 9 : เพื่อไม่ให้ว่างเกินไป และเข้าธีม ก็วาดกล่องใส่ลงไปด้านล่างและใช้สีเดียวกับกับแถบกล่องด้านบนหน่อย
ขั้นตอนที่ 10 : ด้านข้างขวาที่ยังว่างๆ สามารถหารูปกราฟิกมาใส่ได้ หรือเป็นรูปของน้องๆ เอง ลองจัดวางให้เหมาะสมดูนะ
เสร็จแล้ววว : เมื่อทุกอย่างเสร็จสิ้นแล้ว ก็จะได้เป็นรูปแบบด้านล่างนั่นเอง 🙂
หน้าประวัติการศึกษา
สำหรับประวัติการศึกษา ก็เป็นอีกหนึ่งหน้าที่จะบอกความเป็นมาของเราว่าเราผ่านการเรียนมาจากที่ไหนแห่งหนตำบลใด..
ขั้นตอนที่ 1 : สร้างกล่องสี่เหลี่ยม (เลือกที่แท็บ Insert → Shapes → Draw Box) บริเวณด้านบนของหน้า ขนาดใหญ่พอสมควรเพื่อให้เป็นส่วนของหัวข้อ เลือกสีตามใจชอบ ทั้งนี้แนะนำว่าควรเป็นโทนสีเดียวกันกับหน้าปก และทั้งเล่มควรเป็นโทนสีเดียว
แล้วเข้าไปที่แท็บ Insert → Text Box → Draw Text Box วาดกล่องข้อความที่ส่วนบนตรงที่เราสร้างกล่องข้อความเมื่อกี้ แล้วพิมพ์ Education เข้าไป (หรือว่า “ประวัติการศึกษา” ก็ได้ไม่ว่ากัน) แล้วทำการเลือก Font และสี เลือกกล่องข้อความให้ Shape Fill และ Shape Outline ให้เป็น None (ไม่มีสี)
หรือง่ายๆ คือ.. เหมือนขั้นตอนที่ 1-2 ของหน้าประวัติส่วนตัวนี่แหละ (แหงสิ.. ก็อปปี้ข้างบนมาเลยย)
ขั้นตอนที่ 2 : เราจะสร้างแบบเป็น Timeline ดังนั้นก็เลยสร้างเส้นขึ้นมา 1 เส้น.. แนวตั้ง ความยาวประมาณหนึ่ง โดยน้องๆ สามารถเลือก สี / Dashes / Weight ได้จากเมนู Shape Outline ได้เหมือนเคย
ขั้นตอนที่ 3 : วาดวงกลม ขนาดประมาณหนึ่ง เลือกสีสันตามใจชอบได้เลย
ขั้นตอนที่ 4 : Copy ทั้งหมดอีก 3 วง และวางลงด้านล่างด้วยระยะห่างที่เท่ากัน แล้วทำการแทรกกล่องข้อความ เขียน 4 ช่วงชั้นคือ อนุบาล / ประถมศึกษาปีที่ 6 / มัธยมศึกษาปีที่ 3 / มัธยมศึกษาปีที่ 6
ขั้นตอนที่ 5 : แทรกกล่องข้อความ (อีกรอบ) และพิมพ์ปี พ.ศ. ที่จบ (ไม่ใช่ปีการศึกษานะ) ปรับขนาดตัวอักษรให้ใหญ่
ขั้นตอนที่ 6 : แทรกกล่องข้อความ (และอีกรอบ) โดยครั้งนี้พิมพ์ชื่อโรงเรียนที่จบ หากเป็นน้องๆ จากต่างจังหวัดอย่าลืมมีอำเภอ และจังหวัดด้วยนะ โดยขนาดเล็กขวาปี พ.ศ. ที่จบ และสีแตกต่างกัน
ขั้นตอนที่ 7 : ทำการคัดลอก (Copy) อีก 3 ครั้งเช่นกัน โดยจัดให้ตรงกับวงกลมที่เราใส่ระดับชั้นไปแล้ว หลังจากนั้นทำการแก้ไขปี พ.ศ. และชื่อโรงเรียนให้เรียบร้อย
ขั้นตอนที่ 8 : หลังจากเสร็จข้างต้นแล้วก็แทรกรูปภาพโรงเรียนด้านล่างเพื่อให้อาจารย์เห็นโรงเรียนกันหน่อย หรือเป็นรูปน้องๆ ที่ทำกิจกรรมภายในโรงเรียนก็ได้นะ
เสร็จแล้วว : จะออกมาเป็นแบบนี้นั่นเองงง
หน้าประวัติกิจกรรมและผลงาน
สำหรับประวัติกิจกรรมและผลงาน เพื่อให้ได้เห็นภาพรวมว่าในแต่ละปี เราผ่านอะไรกันมาบ้างและมีผลงานใดที่เราได้รับรางวัล
ขั้นตอนที่ 1 : เหมือนกันข้างบนครับ (อ้าว!) สร้างกล่องสี่เหลี่ยม บริเวณด้านบนของหน้า เลือกสีตามใจชอบ แล้ววาดกล่องข้อความ พิมพ์ Activities เข้าไป (หรือว่า “กิจกรรมที่เข้าร่วม” ก็ได้ไม่ว่ากัน) แล้วทำการเลือก Font และสี เลือกกล่องข้อความให้ไม่มีสี
Enter แล้วทำการพิมพ์ปี พ.ศ. เข้าไป เพิ่มขนาดให้ใหญ่ขึ้น
ขั้นตอนที่ 2 : แทรกตารางโดยมีทั้งหมด 5 คอลัมน์ ส่วนแถวก็ตามกิจกรรมที่น้องๆ ทำในปีนั้นๆ ทำการตกแต่งสีและเส้นตารางตามธีมของหน้า
ขั้นตอนที่ 3 : ใส่ วันที่ / กิจกรรม-โครงการ / สถานที่ / จัดโดย / หมายเหตุ แล้วทำการปรับหน้าตารางให้เหมาะสม
ขั้นตอนที่ 4 : แล้วทำการใส่ข้อมูลกิจกรรมต่างๆ เข้าไปได้เลย โดยเรียบเรียงจากมกราคม – ธันวาคม.. ส่วนเราทำกิจกรรมอะไรบ้างนั้นก็ดูจากรูปภาพและเกียรติบัตรที่ได้รับนั่นเอง
ขั้นตอนที่ 5 : ใส่สามเหลี่ยมเข้าไปด้านหน้าปี พ.ศ. เพื่อไม่ให้เกิดช่องว่างด้านหน้าปี
ขั้นตอนที่ 6 : คัดลอกตาราง และเปลี่ยนปี พ.ศ. และใส่กิจกรรมเข้าไป จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (ประถมไม่ต้องนำมานะ)
เสร็จแล้วว : เมื่อเสร็จแล้ว ก็จะได้เป็นรูปแบบนี้นั่นเองงง 😉
หน้ารูปภาพกิจกรรมและผลงาน
สำหรับประวัติกิจกรรมและผลงาน เพื่อให้ได้เห็นภาพรวมว่าในแต่ละปี เราผ่านอะไรกันมาบ้างและมีผลงานใดที่เราได้รับรางวัล
ขั้นตอนที่ 1 : เหมือนกันข้างบนอีกแล้ว.. สร้างกล่องสี่เหลี่ยม บริเวณด้านบนของหน้า เลือกสีตามใจชอบ แล้ววาดกล่องข้อความ พิมพ์ Images เข้าไป (หรือว่า“รูปภาพกิจกรรม”) แล้วทำการเลือก Font และสี เลือกกล่องข้อความให้ไม่มีสี
ขั้นตอนที่ 2 : ก็แทรกรูปไปเลยครับ! ง่ายสุดๆ หน้านี้
โดยในหนึ่งหน้า ควรมีอย่างน้อย 3 รูป พยายามจัดวางรูป ย่อหรือ Crop รูปและทำการจัดวางให้เหมาะสมและสวยงาม
ขั้นตอนที่ 3 : เขียนรายละเอียดของภาพกิจกรรม วันที่เข้าร่วมกิจกรรม และสถานที่ที่เข้าร่วมกิจกรรมให้เรียบร้อย
และมีการแทรกกล่องสี่เหลี่ยมเหมือนกันกับทุกๆ หน้าอีกเช่นกัน
เสร็จแล้ว : เมื่อจัดวางเรียบร้อย ก็จะได้ผลออกมาตามนี้ 😀
การจัดเรียงรูปภาพกิจกรรมและผลงานให้เรียงจากใหม่ไปเก่า แยกประเภทเป็นส่วนๆ ว่านี่คือส่วนผลงาน นี่คือส่วนภาพกิจกรรม นี่คือส่วนเกียรติบัตร
สำหรับหน้าผลงาน ก็สามารถเปลี่ยนหัวข้างบนเป็น Work และใส่งานเข้าไปได้เลย พร้อมอธิบายชื่อผลงาน รายละเอียดของงาน แบบนี้
ส่วนถ้าเป็นวีดีโอ สามารถอัปโหลดขึ้น Youtube แล้วทำการจับภาพหน้าจอวีดีโอ และทำการเขียนชื่อผลงาน อธิบายรายละเอียด และแปะลิงค์วีดีโอ (ถ้ามี QR Code ก็จะดีมากเลยย)
ที่มา:
- พี่ มศว พาน้องสอบ. (2562). [How To] ทำ ‘แฟ้มสะสมผลงาน’ แบบง่ายๆ เสร็จภายใน 1 วัน! ด้วย Microsoft Word. สืบค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม 2562. จาก https://seniorswu.in.th/2016/make-portfolio-in-1-day/.