<Jaturapad>

การศึกษาในศตวรรษที่ 21

EducationResearch

การพัฒนาตัวชี้วัดประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการยกระดับคุณภาพการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และได้มอบหมายให้สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดย ดร.ผดุงชัย ภู่พัฒน์ และคณะเป็นผู้ดำเนินการวิจัย ซึ่งนักวิจัยได้ดำเนินการจัดทำกรอบและตัวชี้วัดประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษา ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในบริบทที่แตกต่างกัน จัดทำคำอธิบายตัวชี้วัดฯ ที่สอดคล้องตามบริบท สร้างเครื่องมือและเกณฑ์การประเมินผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดฯ และพัฒนาคู่มือการวัดและประเมินผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดฯ การวิจัยดำเนินการด้วยวิธีการศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์เอกสารการประชุมผู้ทรงคุณวุฒิ การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการวิจัยเชิงสำรวจ จนได้เครื่องมือและเกณฑ์การประเมินตัวชี้วัดประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งสถานศึกษาสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินตนเอง เพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนยกระดับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาเพื่อให้สามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ

สารบัญ

บทสรุปผู้บริหาร

บทที่ 1 บทนำ

  • ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
  • วัตถุประสงค์ของการวิจัย
  • ขอบเขตของการวิจัย
  • กรอบแนวคิดในการวิจัย
  • นิยามศัพท์

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

  • ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
  • ประเทศไทย 4.0
  • แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579
  • การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
  • ทักษะในศตวรรษที่ 21
  • การจัดการเรียนรู้ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
  • การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง
  • การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
  • การบริหารแบบมีส่วนร่วม
  • การเรียนรู้ตลอดชีวิต
  • สมรรถนะ
  • ตัวชี้วัด
  • ประสิทธิภาพ
  • งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย

  • ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดกรอบตัวชี้วัดประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ ของสถานศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในบริบทที่แตกต่างกัน
  • ขั้นตอนที่ 2 การจัดทำคำอธิบายรายละเอียดตัวชี้วัดประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ ของสถานศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • ขั้นตอนที่ 3 การสร้างเครื่องมือและเกณฑ์การประเมินผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนาคู่มือการวัดและการประเมินผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

  • ตอนที่ 1 ผลการกำหนดกรอบตัวชี้วัดประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • ตอนที่ 2 ผลการจัดทำคำอธิบายรายละเอียดตัวชี้วัดประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • ตอนที่ 3 ผลการสร้างเครื่องมือและเกณฑ์การประเมินผลการดำเนินงาน ตามตัวชี้วัดประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • ตอนที่ 4 ผลการพัฒนาคู่มือการวัดและการประเมินผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

  • สรุปผลการวิจัย
  • อภิปรายผล
  • ข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

[pdf-embedder url=”http://www.jaturapad.com/wp-content/uploads/2019/08/การพัฒนาตัวชี้วัดประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน.pdf”]

 

 

ที่มา: 

  • สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). การพัฒนาตัวชี้วัดประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2562. จาก http://www.onec.go.th/index.php/book/BookView/1612.