ห้องเรียนออนไลน์ของครูจตุรภัทร
 หน้าแรก  แนะนำการใช้บทเรียน  แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม  กระดานถามตอบ & สมุดเยี่ยม (Facebook)  ผู้พัฒนาบทเรียน
 
 
 
   บทเรียนหลัก
แนะนำรายวิชา
แบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบก่อนเรียน
บทที่ 1 การพัฒนาโปรแกรม
บทที่ 2 แนะนำภาษาซี
บทที่ 3 ตัวแปร และตัวดำเนินการ
บทที่ 4 คำสั่งควบคุม
บทที่ 5 โครงงานคอมพิวเตอร์
แบบทดสอบหลังเรียน
 
 
บทที่ 2
2.2 โครงสร้างโปรแกรมภาษาซี
 

           โปรแกรมภาษาต่างๆ จะมีรูปแบบหรือโครงสร้างเฉพาะที่แตกต่างกันไป สำหรับโปรแกรมภาษาซี มีโครงสร้างและลำดับการเขียนดังนี้

  1. ส่วนประมวลผลก่อน (Preprocessor statement)
  2. ส่วนประกาศตัวแปรส่วนกลาง (Global declarations statement)
  3. ส่วนฟังก์ชันหลัก (Function main)
  4. ส่วนฟังก์ชันที่กำหนดเอง (User-defined function)
  5. ส่วนอธิบายโปรแกรม (Program Comment)

    รูปแบบ

1 //StructureOfC.c //ส่วนอธิบายโปรแกรม
2 /*Program by Jaturapad Pratoom*/ //ส่วนอธิบายโปรแกรม
3 #include <stdio.h> //ส่วนประมวลผลก่อน
4    
5 int a,b; //ส่วนประกาศตัวแปรส่วนกลาง
6 int sum(int x, int y); //ส่วนประกาศตัวแปรส่วนกลาง
7    
8 int main() //ส่วนฟังก์ชันหลัก main()
9 { // เริ่มต้นฟังก์ชันหลัก main()
10   int c; //ส่วนประกาศตัวแปรท้องถิ่น
11   printf("Input number 1: "); //คำสั่งในฟังก์ชันหลัก main()
12   scanf("%d", &a); //คำสั่งในฟังก์ชันหลัก main()
13   printf("Input number 2: "); //คำสั่งในฟังก์ชันหลัก main()
14   scanf("%d", &b); //คำสั่งในฟังก์ชันหลัก main()
15   c = sum( a, b); //คำสั่งในฟังก์ชันหลัก main()
16   printf("\n%d + %d = %d", a, b,c); //คำสั่งในฟังก์ชันหลัก main()
17   getch(); //คำสั่งในฟังก์ชันหลัก main()
18 } // จบฟังก์ชันหลัก main()
19    
20 int sum(int x, int y) //ฟังก์ชัน sum()
21 { // เริ่มต้นฟังก์ชัน sum()
22   return(x + y); //คำสั่งในฟังก์ชัน sum()
23 } // จบฟังก์ชัน sum()

ส่วนประมวลผลก่อน (Preprocessor statement)

          ส่วนนี้จะต้องมีทุกโปรแกรม อาจเรียกว่าส่วนหัวของโปรแกรม จำเป็นต้องกำหนดไว้ในตอนต้นโปรแกรมเสมอ โดยจะขึ้นต้นด้วยเครื่องหมาย # ตามด้วยคำสั่งไดเร็คทีฟ (Directive) ที่ต้องการกำหนดค่า เช่น

          #include <stdio.h> หรือ #include "stdio.h"

          หมายถึงการผนวกเฮดเดอร์ไฟล์ชื่อ stdio.h เข้ามาใช้งาน ทั้งนี้เฮดเดอร์ไฟล์ stdio.h นั้นจะเป็นไฟล์ชนิดข้อความ (Text file) ที่ภายในโปรแกรมจะมีการประกาศค่าตัวแปร และค่าคงที่ต่างๆ บรรจุฟังก์ชันมาตรฐานต่างๆ รวมเข้าด้วยกันตามหมวดหมู่เดียวกันไว้ และจัดเก็บลงในไลบรารี โดยจะถูกนำเข้ามาอ่านรวมกันกับชุดคำสั่งในโปรแกรมขณะที่คอมไพล์โปรแกรม

ส่วนประกาศตัวแปรส่วนกลาง (Global declarations statement)

          ส่วนนี้จะใช้ในการประกาศตัวแปรหรือฟังก์ชันที่ต้องใช้ในโปรแกรม โดยทุกๆ ส่วนของโปรแกรมสามารถเรียกใช้ข้อมูลที่ประกาศไว้ในส่วนนี้ได้

ส่วนฟังก์ชันหลัก (Function main)

          ส่วนนี้ทุกโปรแกรมจะต้องมี ซึ่งภายในฟังก์ชันหลักจะประกอบด้วยคำสั่งต่างๆ ที่จะให้โปรแกรมทำงาน ฟังก์ชันนี้เริ่มต้นการทำงานด้วยฟังก์ชัน main() ส่วนคำสั่งต่างๆ จะต้องเขียนอยู่ระหว่างเครื่องหมาย { และ } เสมอ และคำสั่งทุกคำสั่งในภาษาซีจะต้องปิดท้ายด้วยเครื่องหมาย ; (semicolon) เสมอ

ส่วนฟังก์ชันที่กำหนดเอง (User-defined function)

          เป็นการเขียนคำสั่งและฟังก์ชันต่างๆ ขึ้นใช้ในโปรแกรม โดยต้องอยู่ในเครื่องหมาย { } และต้องสร้างฟังก์ชันหรือคำใหม่ที่ให้ทำงานที่เราต้องการให้กับโปรแกรมและสามารถเรียกใช้ได้ ภายในโปรแกรม

ส่วนอธิบายโปรแกรม (Program Comment)

          คอมเมนต์ (comment) คือส่วนที่เป็นหมายเหตุของโปรแกรม มีไว้เพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมใส่ข้อความอธิบายกำกับลงไปใน source code ซึ่งคอมไพเลอร์จะไม่ทำการแปลผลในส่วนที่เป็นคอมเมนต์นี้

          คอมเมนต์ในภาษาซีมี 2 แบบคือ

  1. คอมเมนต์แบบบรรทัดเดียว ใช้เครื่องหมาย //
  2. คอมเมนต์แบบหลายบรรทัด ใช้เครื่องหมาย /* และ */

    ตัวอย่างการคอมเมนต์ในภาษาซี

1 //Comment only one line
2  
3 #include <stdio.h>
4  
5 int main()
6 {
7    /*Comment
8       many
9          line*/
10 }

โปรแกรมแรกของฉัน

1 //MyFirstProgram.c
2  
3 #include <stdio.h>
4  
5 int main()
6 {
7   clrscr();
8   printf("Hello World !\n");
9   getch();
10 }

     ผลลัพธ์คือ

Hello World ! 
    หมายเหตุ
  •   หมายถึง ให้กดปุ่ม Enter บนแป้นพิมพ์

     อธิบายโปรแกรม

บรรทัดที่ 1: เป็นส่วนที่เป็นหมายเหตุแบบบรรทัดเดียวของโปรแกรม เพื่อให้ทราบชื่อโปรแกรมว่า MyFirstProgram.c
บรรทัดที่ 3: เป็นการบอกให้คอมไพเลอร์นำเฮดเดอร์ไฟล์ชื่อ stdio.h เข้ามาร่วมในการแปลผลด้วย โดย stdio ย่อมาจาก standard input/output และ .h คือ นามสกุลของเฮดเดอร์ไฟล์ในภาษาซี (h ย่อมาจาก header) ซึ่ง stdio.h คือ เฮดเดอร์ไฟล์ที่รวมเอาการประกาศ (declaration) ของฟังก์ชันมาตรฐานของภาษาซีที่เกี่ยวกับการจัดการด้านอินพุตและเอาต์พุตเข้ามาไว้ด้วยกันโปรแกรมนี้มีการเรียกใช้งานฟังก์ชัน printf() เพื่อแสดงข้อมูลออกทางจอภาพ และเนื่องจากส่วนของการประกาศฟังก์ชัน printf() ถูกบรรจุอยู่ในเฮดเดอร์ไฟล์ stdio.h ดังนั้นจึงจำเป็นต้องนำเฮดเดอร์ไฟล์ stdio.h เข้าร่วมในการแปลผลด้วย
บรรทัดที่ 5: คือฟังก์ชัน main() ซึ่งเป็นฟังก์ชันหลักของโปรแกรม การทำงานของโปรแกรมภาษาซีจะเริ่มต้นที่ฟังก์ชันนี้
บรรทัดที่ 6: เครื่องหมาย { ระบุจุดเริ่มต้นของฟังก์ชัน main()
บรรทัดที่ 7: เป็นคำสั่งให้เคลียร์หน้าจอเวลาแสดงผลลัพธ์
บรรทัดที่ 8: เป็นการเรียกใช้ฟังก์ชัน printf() ซึ่งเป็นฟังก์ชันมาตรฐานของภาษาซีทำหน้าที่แสดงผลข้อมูลออกทางจอภาพ ในที่นี้จะแสดงข้อความ Hello World ! ออกทางจอภาพ
บรรทัดที่ 9: เป็นการเรียกใช้ฟังก์ชัน getch() ซึ่งเป็นฟังก์ชันมาตรฐานของภาษาซีทำหน้าที่รับตัวอักษรใด เพื่อออกจากหน้าจอปัจจุบัน
บรรทัดที่ 10: เครื่องหมาย } ระบุจุดสิ้นสุดของฟังก์ชัน main()
 
 
 
 
  เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อประกอบการจัดการเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
กลับสู่ด้านบน กลับสู่ด้านบน  
  ยินดีรับข้อเสนอแนะ ติดต่อ .
เพื่อความสวยงามในการชม ใช้หน้าจอขนาด 1024 x 768.

โรงเรียนคำนาดีพิทยาคม
ตำบลคำนาดี อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ