ค่าคงที่ หมายถึง ข้อมูลที่ระบุเป็นค่าอย่างใดอย่างหนึ่งในโปรแกรม และมีชนิดของข้อมูลตามค่าของข้อมูลนั้น เช่น
8,236
5.85 และ 100.00
A และ O.K."
|
เป็นค่าคงที่ชนิดจำนวนเต็ม
เป็นค่าคงที่ชนิดจำนวนจริง
เป็นค่าคงที่ชนิดอักขระและสายอักขระตามลำดับ
|
นอกจากการใช้ค่าคงที่แล้ว นักเขียนโปรแกรมยังสามารถกำหนดชื่อเพื่อใช้แทนค่าคงที่ในโปรแกรม ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกชื่อนี้ว่า ค่าคงที่ (constants) โดยการใช้คำสั่งของตัวประมวลผลก่อนซี #define ตามตัวอย่างที่ 3.3.1
ตัวอย่างที่ 3.3.1 โปรแกรมแปลงอุณหภูมิ
|
|
|
#define FACTOR 5 / 9 |
|
#define FBASE 32 |
|
#include <stdio.h> |
|
void main() { |
|
float degF, degC; |
|
degF = 78.5; |
|
degC = (degF FBASE) * FACTOR; |
|
printf("%f in Fahrenheit ",degF); |
|
printf("is %f in Celsius. \n",degC); |
|
degF = 100.0; |
|
degC = (degF FBASE) * FACTOR; |
|
printf("%f in Fahrenheit ",degF); |
|
printf("is %f in Celsius. \n",degC); |
|
getch(); |
|
} |
|
ผลลัพธ์ คือ
78.500000 in Fahrenheit is 25.833334 in Celsius. 100.000000 in Fahrenheit is 37.777779 in Celsius.
|
|
บรรทัดที่ 2 และ 3 เป็นการเรียกใช้คำสั่งของตัวประมวลผลก่อนซี #define ซึ่งใช้สำหรับกำหนดให้ FACTOR และ FBASE มีค่าคงที่ที่มีค่าเป็น 5/9 และ 32 ตามลำดับ ในขั้นตอนการประมวลผลก่อน (preprocessing) ค่าคงที่ทั้งหมดจะถูกแทนที่ด้วยค่าที่กำหนดให้
บรรทัดที่ 7 ค่า 78.5 เป็นค่าคงที่ชนิดจำนวนจริงที่กำหนดให้เป็นค่าของตัวแปร degF บรรทัดที่ 11 เราสามารถกำหนดให้ตัวแปร degF มีค่าเป็น 100.00 และเรียกใช้ค่าคงที่ FACTOR และ FBASE คำนวณอีกครั้งในบรรทัดที่ 12
การใช้ค่าคงที่ในโปรแกรมอย่างเหมาะสม จะช่วยให้สามารถเข้าใจความหมายของโปรแกรมได้ดียิ่งขึ้น และยังช่วยให้การปรับปรุงโปรแกรมทำได้โดยง่าย
|